RSS

วันอาทิตย์ที่ 5 พฤษภาคม พ.ศ. 2556

Myself

     
          My name is Chadvadee Rawangwong. My nickname is Waen.My student number is 5311114056.I'm English student in Faculty of Education, Nakhon Si Thammarat Rajabhat university.


วันอังคารที่ 31 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

สรุปบทความ On The Problems and Strategies of Multimedia Technology in English Teaching.

 สรุปบทความ   On The Problems and Strategies of Multimedia Technology in English Teaching.


ปัญหาและทางแก้ไขในการใช้เทคโนโลยีสำหรับสอนภาษาอังกฤษ
1.วิเคราะห์ความจำเป็นของการใช้เทคโนโลยีในชั้นเรียนภาษาอังกฤษ
1.1 เพื่อสร้างความสนใจในการเรียนของเด็กๆ เนื่องจากสื่อและเทคโนโลยีในปัจจุบันสามารถทำให้ผู้เรียนรู้สึกถึงความสมจริง ทำให้สามารถดึงความสนใจของผู้เรียนได้เป็นอย่างดี
1.2 เพื่อยกระดับการสื่อสารของผู้เรียน การสอนแบบดั้งเดิมนั้นจะเน้นให้นักเรียนพัฒนาทักษะทางด้านการฟังและการอ่าน ทำให้เด็กไม่สามารถบลุประสงค์ด้านการสื่อสารได้ แต่เทคโนโลยีในปัจจุบันสามารถช่วยกระตุ้นให้นักเรียนสื่อสารและคิดได้ดียิ่งขึ้นเพราะเทคโนโลยีในการสอนจะช่วยให้นักเรียนคิดบวกและฝึกสื่อสารในชีวิตจริงใด้
1.3 เพื่อให้นักเรียนสามารถเข้าใจวัฒนธรรมตะวันตกได้ดียิ่งขึ้น สื่อเทคโนโลยีสามารถนำเสนอข้อมูลให้แก่ผู้เรียนได้มากกว่าหนังสื่อเรียนทั่วไปเพราะนอกจากจะสอนภาษาแล้วสื่อเหล่านี้ยังนำเสนอวัฒนธรรม เนื้อหาที่สมบูรณ์ และภาษาที่ใช้ได้ในชีวิตจริง
1.4) เพื่อพัฒนาศักยภาพในการสอน เทคโนโลยีจะช่วยเพิ่ม ความสามารถในการสอนและลดการเป็นศูนย์กลางของตัวครูลง เพราะในชั้นเรียน ที่มีเด็กเป็นจำนวนมากทำให้ครูไม่สามารถโต้ตอบกับทุกคนได้ แต่เทคโนโลยีจะเข้ามาช่วยสร้างการสื่อสารกับผู้เรียนแทน
2. การวิเคราะห์ถึงปัญหาการใช้เทคโนโลยีในชั้นเรียน
2.1) เมื่อตัวหลักถูกแทนที่ด้วยตัวช่วย วัตถุประสงค์หลักของเทคโนโลยี คือการนำมาใช้ช่วยในการสอน แต่หากผู้สอนพึ่งพาเทคโนโลยีมากเกินไป ก็จะเหมือนกับว่าทั้งผู้สอนและนักเรียนตกเป็นทาสของ คอมพิวเตอร์ ดังนั้น ผู้สอนควรใช้เทคโนโลยีให้น้อยลง แต่ให้ถูกต้องมากขึ้น
2.2) ปัญหาในด้านการสื่อสาร ถึงแม้เทคโนโลยีจะช่วยในการเรียนภาษา แต่มันกลับลดปริมาณการสื่อสารระหว่างครูกับนักเรียนลง เนื่องจากถูกแทนที่ด้วยภาพและเสียงของสื่อ ผู้เรียนจึงกลายเป็นเพียงผู้ชมในชั้นเรียนเท่านั้น
2.3) การหดตัวลงของศักยภาพทางการคิดของผู้เรียน เนื่องจากปกติแล้ว การเรียนการสอนภาษาไม่ได้มีการสาธิต และเป็นเพียงแค่การถามตอบระหว่างครูกับผู้เรียน โดยครูจะถามคำถามแล้วในผู้เรียนคิด แต่เมื่อนำเทคโนโลยีมาใช้ในชั้นเรียน ทำให้ผู้เรียนไม่ค่อยได้ใช้ทักษะการคิด เราควรจะกระตุ้นให้เด็กคิดมากขึ้น และลดเวลาในการใช้มัลติมีเดียให้น้อยลง
2.4) การคิดนามธรรมถูกแทนที่ด้วยจินตนาการ วัตถุประสงค์หลักในการสอนเพื่อเสริมการคิดเชิงนามธรรมของนักเรียน สื่อช่วยให้การสอนง่ายขึ้น เพราะมันช่วยเปลี่ยนจากจิตนาการเป็นภาพของจริงให้ผู้เรียนได้เห็น แต่สิ่งเหล่านี้กลับทำให้ความคิดเชิงตรรกะ เชิงความคิดของนักเรียนถูกทำลาย ในปัจจุบัน ความสามารถในการอ่านลดลง ตัวอักษรถูกแทนที่ด้วยคีย์บอร์ด เทคโนโลยี การเรียนการสอนแย่ลง อย่างไรก็ตาม สื่อเทคโนโลยีจะไม่สามารถแทนที่ครูและกระบวนการสอนได้
3. ข้อแนะนำและกลยุทธ์จัดการกับปัญหาที่เกิดขึ้น
3.1) การเรียนการสอนในชั้นเรียนไม่ใช่บทบาทของสิ่งใดสิ่งหนึ่ง เป็นที่พิสูจน์แล้วว่าสื่อการสอนช่วยให้ครูสอนในชั้นให้ดีขึ้น โดยในขณะที่สอนนั้น ครูจะมีบทบาทหลักที่ไม่สามารถแทนที่ได้ด้วยคอมพิวเตอร์
3.2) จอคอมพิวเตอร์ไม่สามารถแทนที่ด้วยกระดานได้ แม้ว่าจอคอมพิวเตอร์จะสามารถใช้งานแทนกระดานดำได้เป็นอย่างดี แต่ครูควรใช้กระดานดำบ้าง เพราะง่ายต่อการแก้ไข และสามารถตอบสนองได้ทันที
3.3) Power point ไม่สามารถแทนที่การคิด และการฝึกฝนของนักเรียนได้ จะสังเกตได้ว่าปัจจุบัน ห้องเรียนจะนำ Power point ใช้ในการนำเสนองาน ถึงแม้จะมีความสวยงาม แต่ Power point จะลดการคิด และการฝึกฝนของผู้เรียนลง ดังนั้นเราควรที่จะกระตุ้นให้ผู้เรียนได้คิด และฝึกฝนมากกว่าการนั่งดู Power point
3.4) สื่อและเครื่องมือการสอนแบบเก่าๆนั้นไม่ควรถูกมองข้าม  ครูบางคนพยายามจะแทนที่ทุกอย่างด้วยเทคโนโลยีใหม่ๆแต่เราควรเข้าใจว่าสื่อบางชนิดไม่สามารถแทนได้ เช่น เครื่องบันทึกเสียง ยังมีบทบาทสำคัญในการสอน  ดังนั้นครูควรจะเลือกสื่อให้เหมาะสมกับเนื้อหาและวิธีการสอน
3.5) สื่อเทคโนโลยีไม่ควรถูกใช้มากเกินไป เป็นที่เชื่อกันว่ายิ่งใช้สื่อมากบรรยากาศในห้องยิ่งดีขึ้น  ยิ่งนักเรียนมีส่วนร่วมในกิจกรรมมากเท่าใดก็จะยิ่งง่ายต่อการรับเนื้อหามากขึ้น  แต่ในความเป็นจริงแล้วสื่อมากเท่าไหร่ ความสนใจเด็กดึงไปที่สื่อมากเท่านั้น เนื้อหาที่เด็กได้รับจึงยิ่งน้อยมากขึ้นเท่านั้น  ดังนั้นควรใช้สื่อให้พอดีไม่มากไม่น้อยเกินไป

สรุปบทความ Applying Innovative Spirit to Multimedia Foreign Language Teaching

สรุปบทความ Applying Innovative Spirit to Multimedia Foreign Language Teaching.

การปะยุกต์นวัตกรรมลงในสื่อเพื่อใช้สอนภาษาต่างประเทศ
ในปัจจุบันผู้คนส่วนใหญ่ เน้นให้เด็กศึกษาด้วยตนเอง ในขณะที่สถานศึกษาก็ถูกคาดหวังให้ใช้สื่อและเทคโนโลยีที่ทันสมัยในการการเรียนการสอน แม้แต่การเรียนภาษาต่างประเทศเองก็ตาม แต่สื่อเหล่านี้ช่วยให้กาเรียนการสอนภาษาอังกฤษดีขึ้นหรือไม่
แนวคิดเกี่ยวกับการสอนโดยใช้สื่อและนวัตกรรมทางการศึกษา
            การเรียนการสอนภาษาในสมัยก่อนนั้นจะขึ้นอยู่กับครู นักเรียน ชอล์ก กระดานดำ และเทป ในขณะที่การสอนโดยใช้สื่อนั่นครู นักเรียน คอมพิวเตอร์ และบทเรียนนั้นจะไม่ค่อยมีบทบาทเท่าไร
สรุป
            การสอนภาษารูปแบบใหม่ ยังต้องรอพิสูจน์ไปอีกสักพัก แต่ทั้งนี้รูปแบบของมันเองก็ปะสบผลสำเร็จไประดับหนึ่ง ทั้งที่ยังต้องขึ้นอยู่กับตัวผู้สอน นักเรียน และสื่อนวัตกรรมนั้นเอง

Links to websites related to ELT.

Wh- question
หลักการใช้ Active and Passive Voice
          http://ict.moph.go.th/English/content/adj06_article_a.htm

วันพุธที่ 18 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

Learning log

Learning log




การออกข้อสอบโดยใช้ Microsoft word

       วันนี้อาจารย์ให้ฝึกออกแบบข้อสอบโดยใช้ Microsoft word จากปุ่มนักพัฒนา ซึ่งการออกแบบข้อสอบที่อาจารย์สอนมีทั้ง ข้อสอบช้อย ข้อสอบแบบเติมคำในช่องว่าง และข้อสอบแบบเลือกตอบ ซึ่งเป็นเรื่องที่ค่อนข้างใหม่ แต่สามารถเข้าใจได้ง่ายมาก โดยในการออกข้อสอบนี้ก็มีส่วนดีอยู่ด้วย คือเราสามารถป้องกันเอกสาร เพื่อไม่ให้ใครสามารถแก้ไขตัวข้อสอบของเราได้เลย จากนั้นก็ได้ทดลองทำจนสามารถใช้งานได้อย่างคล่องแคล่ว

วันที่ 27 มิถุนายน 2555
( ครั้งที่1 )

การสร้าง Blog
      
       การสร้าง blog เริ่มจากการสมัคร blog จากนั้นอาจารย์ก็สอนให้เปลี่ยน template และก็การเพิ่ม gadget ต่าง เช่น นาฬิกา ปฏิทิน ตัวนับ เป็นต้น เมื่ออาจารย์สอนเสร็จแล้วก็ให้พวกเราฝึกเพิ่ม gadget ต่างๆให้ชำนาญ ซึ่งแรกๆก็ยากมาก แต่โชคดีที่มีเพื่อนที่เชี่ยวชาญค่อยแนะนำจนสามารถสร้าง blog ออกมาได้อย่างสวยงาม

วันที่ 4 กรกฎาคม 2555
( ครั้งที่ 2 )


การสร้าง Story board

       วันนี้อาจารย์ก็ได้สอนเรื่อง Story board โดยให้เราเลือกชี่อเรื่องที่จะใช้สอน แล้วก็ให้ออกแบบบทเรียน และสร้างสตอรี่ บอร์ด ซึ่งในสตอรี่บอร์ดก็ต้องมีสิ่งต่างๆเหล่านี้อยู่ด้วย เช่น กระดาษ A4 พับครึ่งใช้แทนหน้าจอคอมพิวเตอร์, แนะนำชื่อเรื่อง, แนะนำปุ่ม, วัตถุประสงค์, หน้าเมนู, pre-test, เริ่มบทเรียน, แบบฝึกหัด, post-test เป็นต้น

วันที่ 11 กรกฎาคม 2555
(ครั้งที่ 3)

การสร้างบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน

       วันนี้อาจารย์สอนเรื่องการสร้างบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน โดยการใช้โปรแกรม Adobe Captivate 5 โดยการเริ่มจากการสร้างหน้าต่างๆของบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน ตามที่เราเขียนไว้ในสตอรี่บอร์ด และการตั้งค่าต่างๆในแต่ละสไลด์ในบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนของเรา ร่วมทั้งการเพิ่มเสียงต่างๆในบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนด้วย

วันที่ 18 กรกฎาคม 2555
(ครั้งที่ 4)

การสร้างบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน

       วันนี้อาจารย์สอนเรื่องบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนต่อ โดยวันนี้สอนเรื่องการออกแบบข้อสอบแบบ multiple choice โดยจะมีวิธีทำที่มากมาย และซับซ้อนแต่เมื่อได้เรียนแล้วก็ไม่ได้ยากอย่างที่คิด เพราะถ้าเราตั้งใจฟังก็จะสามารถเข้าใจ และทำได้อย่างง่ายๆ


วันที่ 25 กรกฎาคม 2555
( ครั้งที่ 5)



การสร้างบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน ( การสร้างข้อสอบแบบ True/ false และ Matching)

       วันนี้ได้เรียนเรื่องการสร้างข้อสอบแบบ True/ false และ Matching กับโปรแกรม Adobe Captivate 5 ซึ่งในการสร้างข้อสอบทั้งสองแบบนี้ก็จะมีลักษณะที่แตกต่างกัน แต่จะมีวิธีการตั้งค่าที่คล้ายๆกัน เพราะฉะนั้นจึงไม่ค่อยจะยากสักเท่าไรนัก จึงทำให้การเรียนบทเรียนในวันนี้จึงจะไม่ยากเท่าไรนัก


วันที่ 1 สิงหาคม 2555
( ครั้งที่ 6 )



วันอังคารที่ 12 มิถุนายน พ.ศ. 2555

สรุปบทความ Innovation Educational Technology in the Global Classroom

สรุปบทความ  Innovation Educational Technology in the Global Classroom.

วันจันทร์ที่ 11 มิถุนายน พ.ศ. 2555

Acronyms related to computer technology.

Acronyms related to computer technology with reference.

IT ( information technology ) เทคโนโลยีสารสนเทศ คือ เทคโนโลยีในการนำคอมพิวเตอร์มาใช้งานจัดการกับข้อมูล ข่าวสาร หรือที่เรียกว่าสารสนเทศ ศาสตร์ด้านเทคโนโลยีสารสนเทศเป็นศาสตร์ที่ใหม่มาก และมีความสำคัญมากในสังคมปัจจุบัน และถือเป็นหนึ่งในสามศาสตร์หลัก (เทคโนโลยีสารสนเทศ เทคโนโลยีนาโน เทคโนโลยีชีวภาพ) ที่ถูกกล่าวว่าจะมีผลต่อสังคมในอนาคตมากที่สุด โดยปัจจุบัน มีผู้กล่าวถึง เทคโนโลยีสารสนเทศกันอย่างกว้างขวาง โดยเราจะรู้จักกันทั่วไปในชื่อสั้นๆ ว่า ไอที  (IT)
ที่มา http://www.siit.tu.ac.th/thai/it.html
ICT (Information and Communication Technology)
I ย่อมาจากInformation”  หรือ ระบบสารสนเทศ
C ย่อมาจาก Communication หรือ การสื่อสาร
                   T ย่อมาจาก Technology”  หรือเทคโนโลยี  (โดยมีเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ การสื่อสาร และเครือข่ายคอมพิวเตอร์ เป็นหลัก) ที่ทำหน้าที่ใน การจัดการข้อมูล ได้แก่ การนำข้อมูลเข้า การประมวลผลข้อมูล ให้ได้ผลลัพธ์ที่เป็นประโยชน์ และเผยแพร่ต่อไปยังผู้บริโภค หรือผู้ใช้ ให้สามารถได้ใช้ผลผลิตนั้น อย่างถูกต้อง ตรงและทันกับความต้องการ เราสามารถใช้ติดต่อสื่อสารหาข้อมูล ความรู้ในการศึกษา กับสถาบันทั้งในและต่างประเทศได้ เพื่อหาความรู้และโลกทัศน์ใหม่ๆได้
ที่มา http://overthai.fix.gs/index.php?topic=113.0
CAI (COMPUTER-ASSISTED หรือ AIDED INSTRUCTION) คือ คอมพิวเตอร์ช่วยสอน
 CAI หมายถึง สื่อการเรียนการสอนทางคอมพิวเตอร์รูปแบบหนึ่ง ซึ่งใช้ความสามารถของคอมพิวเตอร์ในการนำเสนอสื่อประสมอันได้แก่ ข้อความ ภาพนิ่ง กราฟิก แผนภูมิ กราฟ  ภาพเคลื่อนไหว และเสียง เพื่อถ่ายทอดเนื้อหาบทเรียน หรือองค์ความรู้ในลักษณะที่ ใกล้เคียงกับการสอนจริงในห้องเรียนมากที่สุดโดยมีเป้าหมายที่สำคัญก็คือ สามารถดึงดูดความสนใจของผู้เรียน และกระตุ้นให้เกิดความต้องการที่ จะเรียนรู้ คอมพิวเตอร์ช่วยสอนเป็นตัวอย่างที่ดีของสื่อการศึกษาในลักษณะตัวต่อตัว ซึ่งผู้เรียนเกิดการเรียนรู้จากการมีปฏิสัมพันธ์ หรือการโต้ตอบพร้อมทั้งการได้รับผลป้อนกลับ นอกจากนี้ยังเป็นสื่อ ที่สามารถตอบสนองความแตกต่างระหว่างผู้เรียนได้เป็นอย่างดี รวมทั้งสามารถที่จะประเมิน และตรวจสอบความเข้าใจของผู้เรียนได้ตลอดเวลา  
ที่มา www.baanmaha.com  
CALL (Computer-assisted language learning) หมายถึง โปรแกรมช่วยเรียนภาษาโดยเฉพาะ ใช้ได้ทั้งกับการเรียนในห้องเรียน โดยมีผู้สอนเป็นผู้ควบคุมดูแลกระบวนการเรียนและการให้ผู้เรียนเรียนจากโปรแกรมด้วยตนเองที่ศูนย์การเรียนรู้ด้วยตนเอง (Self-access learning center) หรือที่ศูนย์คอมพิวเตอร์และสำหรับสถานศึกษาทีมีความพร้อมก็อาจมอบแผ่นโปรแกรมให้ผู้เรียนนำไปใช้กับเครื่องคอมพิวเตอร์นอกสถานศึกษาโดยผ่านโมเด็มและสายโทรศัพท์
ที่มา http://www.ict4lt.org/en/warschauer.htm
WBI  (WBI (Web-based Instruction)  ความถึง การเรียนการสอนผ่านเว็บเป็นการใช้เว็บในการเรียนการสอนโดยอาจใช้เว็บเพื่อนำเสนอบทเรียนในลักษณะสื่อหลายมิติของวิชาทั้งหมดตามหลักสูตร หรือใช้เพียงการเสนอข้อมูลบางอย่างเพื่อประกอบการสอนก็ได้  รวมทั้งใช้ประโยชน์จากคุณลักษณะต่างๆ ของการสื่อสารที่มีอยู่ในระบบอินเทอร์เน็ต เช่น การเขียนโต้ตอบกันทางไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์และการพูดคุยสดด้วยข้อความและเสียงมาใช้ประกอบด้วยเพื่อให้เกิดประสิทธิภาพ
ที่มา http://student.nu.ac.th/supaporn/wbi.htm
CBI  (Computer Based Instruction) หมายถึง การประยุกต์นำคอมพิวเตอร์มาช่วยในการเรียนการสอน โดยมีการพัฒนาบทเรียน (Courseware) ขึ้นเพื่อเสนอเนื้อหาให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ในรูปแบบสื่อประสมคือ ข้อความภาพกราฟิก ภาพเคลื่อนไหว และเสียง การเสนอเนื้อหาดังกล่าวเป็นการเสนอโดยตรงไปยังผู้เรียนผ่านทางจอภาพหรือแป้นพิมพ์ บทเรียนจะถูกจัดเก็บไว้ในแผ่นดิสก์หรือหน่วยความจำของเครื่องพร้อมที่จะเรียกใช้ได้ตลอดเวลา ผู้เรียนจะต้องโต้ตอบหรือตอบคำถามเครื่องคอมพิวเตอร์ด้วยการพิมพ์ การตอบคำถามจะถูกประเมินโดยคอมพิวเตอร์และจะเสนอแนะขั้นตอนหรือระดับในการเรียนขั้นต่อ ๆ ไป กระบวนการเหล่านี้เป็นปฏิสัมพันธ์ที่เกิดขึ้นระหว่างผู้เรียนกับคอมพิวเตอร์
ที่มา http://www.edu.nu.ac.th/supanees/lesson/366515/unit5_p04.html
CMC  (Computer-mediated communication)  คือ การติดต่อสื่อสารโดยปรากฏตัวผ่านรูปแบบสื่อคอมพิวเตอร์ เช่น E-mail, Chat room เป็นต้น  และยังได้รับการปรับใช้ในรูปแบบอื่นๆ ของการใช้ตัวอักษรเป็นหลัก เช่น Text Messaging หรือการส่ง SMS (short message service)บนมือถือ ในการวิจัยเรื่อง CMC จะเน้นไปที่เรื่องใหญ่ๆ คือ ผลตอบกลับทางสังคมที่ได้รับการสนับสนุนของเทคโนโลยีการสื่อสารที่แตกต่างกัน และเมื่อไม่นานมานี้มีการศึกษาที่เกี่ยวข้องกับการใช้อินเทอร์เน็ตเป็นหลัก Social Networking ซึ่งได้รับการสนับสนุนโดย Social Software
ที่มา http://www.thekanostudio.com/assignment_01cmc.html
TELL (Teaching English Language Learners) คือ การเรียนการสอนภาษาอังกฤษ ให้แก่ผู้เรียนภาษาอังกฤษ โดยการศึกษามีความเชี่ยวชาญและความรู้สองภาษา แล้ว ตรวจสอบกลยุทธ์การสอนที่ดีที่สุดสนับสนุนการพัฒนาความรู้ของนักเรียนที่กำลังเรียนภาษาอังกฤษเป็นภาษาที่สอง คุณจะได้เรียนรู้วิธีการสร้างเกี่ยวกับภาษาของนักเรียนและประสบการณ์ของพื้นหลังและวิธีการสร้างสภาพแวดล้อมของห้องเรียนที่ส่งเสริมการเรียนรู้การรู้หนังสือที่มีความหมาย
ที่มา http://www.learner.org/workshops/teachreading35/session6/index.html
MUD  (Multiple User Dialogue) คือ โปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่ผู้ใช้สามารถเข้าสู่และสำรวจ ผู้ใช้แต่ละคนจะใช้เวลาการควบคุมของบุคคลคอมพิวเตอร์  ประจำ  ชาติ  ตัวละคร คุณสามารถเดินไปรอบ ๆ  แชทกับตัวละครอื่น ๆ  สำรวจพื้นที่มอนสเตอร์ที่รบกวนอันตรายแก้ปริศนาและแม้แต่สร้างห้องของตัวเองมาก  คำอธิบายและรายการ คุณยังสามารถได้รับการสูญหายหรือเกิดความสับสนถ้าคุณกระโดดสิทธิ์ในเพื่อให้แน่ใจว่าจะอ่านเอกสารฉบับนี้ก่อนที่จะเริ่ม
ที่มา http://www.sdmud.com/about/muds/
MOO  (MUD Object Oriented) ซึ่งเป็นระบบของการสื่อสารที่เป็น แบบซิงโครนัสที่ผู้ใช้(users) สามารถปฎิสัมพันธ์กันได้ด้วยการพิมพ์ข้อความ(text)โดยผู้สื่อสารกันนั้นสามารถ เลือกห้องหรือสถานที่สนทนากันได้ ซึ่งผู้สนทนาจะต้องอยู่ในสถานที่ที่เรียกว่า room เดียวกัน
ที่มา http://senarak.tripod.com/mudmoo.html


Common English Errors

Pronoun

Future Tense